Thursday, November 27, 2008

ไฟฟ้าสถิต

1.กฎของคูลอมบ์
ประจุไฟฟ้า
สมบัติของประจุไฟฟ้า มีดังนี้

ประจุไฟฟ้ามีอยู่เพียง 2 ชนิด คือ ประจุบวก (Positive charge “+”) และ ประจุลบ(negative charge “-”)
ประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันดูดกัน และ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักกัน
ประจุไฟฟ้ามีสมบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์(conservation) กล่าวคือ ไม่มีประจุไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นใหม่ หรือ ถูกทำลายไป เพียงแต่มีการถ่ายโอน หรือ เคลื่อนที่จากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น เมื่อเอาแท่งแก้วแท่งหนึ่งถูกับผ้าไหมผืนหนึ่ง ปรากฏว่า แท่งแก้วมีประจุบวก
ผ้าไหม มีประจุลบด้วยปริมาณเท่ากัน แสดงว่า ประจุไฟฟ้าลบจากแท่งแก้ว เคลื่อนที่ไปยังผ้าไหม จึงทำให้ ผ้าไหมผืนนั้นมีประจุไฟฟ้าลบเกิน ส่วนแท่งแก้วแท่งนั้นก็จะมีประจุไฟฟ้าลบขาดไปด้วย ปริมาณที่เท่ากัน หรือ มีประจุไฟฟ้าบวกเกินอยู่นั้นเอง
สิ่งที่ใช้สนับสนุน คำอธิบายข้างต้นนี้ คือ แท่งแก้วและผ้าไหม ในสภาวะปกติ นั้นมีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า กล่าว คือ ล้วนแต่มีประจุไฟฟ้าบวก และประจุไฟฟ้าลบที่เท่ากันจำนวนมาก
และคำอธิบายข้างต้นนี้ ยังนิยมกำหนดว่าให้ ประจุไฟฟ้าลบเคลื่อนที่
ในปี พ.ศ. 2452 มิลลิแกน ได้ค้นพบ ค่าของประจุไฟฟ้าและกำหนดให้มีค่าเป็น
จำนวนเต็มเท่าของหน่วยหลักมูล(fundamental unit)
ของประจุไฟฟ้า e

โดยที่ e = 1.6 x 10^-19 คูลอมบ์ , หมายเหตุ ^ หมายถึง ยกกำลัง

และเราเรียกว่า . “ค่าประจุไฟฟ้า(q) มีลักษณะเป็น ควอนตัม (quantum)”
นั้นแสดงว่า ค่าประจุไฟฟ้า q = 1e, 2e, 3e,…
ถ้าให้ n แทนจำนวนเต็มบวก
จะได้ q = ne .............................................(1.1)

0 comments:

About Us | Site Map | Privacy Policy | Contact Us | Blog Design | 2007 Company Name